สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
ตำบลหนองเต่า มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนในตำบลหนองเต่า ประกอบด้วย
- โรงเรียนบ้านหนองเต่า ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล (1 - 2) , ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1 - ป.6) , ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3)
- โรงเรียนบ้านเขือง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล (1 - 2) , ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1 - ป.6)
- โรงเรียนแหลไหล่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล (1 - 2) , ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1 - ป.6)
2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ประกอบด้วย
- ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนวัยเรียนวัดธัมมปติฏฐาราม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านเขืองน้อย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนบ้านใหม่สีทอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8
ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ(กศน.หนองเต่า) 1 แห่ง
2. สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเต่า 1 แห่ง
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 9 แห่ง
3. อาชญากรรม
-
4. ยาเสพติด ปัญหายาเสพติด มีพื้นที่เฝ้าระวัง ในตำบล
5. การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่าได้รับคัดเลือกจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เป็น “ตำบลต้นแบบด้านการพัฒนาสังคมและสังคมสงเคราะห์”
6. ระบบบริการพื้นฐาน
6.1 การคมนาคมขนส่ง มีถนนลาดยางแอลฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรัง
6.2 การไฟฟ้า มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน
6.3 การประปา มีระบบประปาบาดาลหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1-9
6.4 โทรศัพท์ ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
6.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์ตระการพืชผล ตั้งอยู่ ตำบลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ไปทางประมาณ 24 กิโลเมตร
ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตร ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ยางพารา ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
2. การประมง -
3. การปศุสัตว์ ตำบลหนองเต่ามีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้านของ ตำบลหนองเต่า
4. การบริการ มีร้านบริการทำผม เสริมสวย พื้นที่ หมู่ที่ 1-9 มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่
5. การท่องเที่ยว วัดธัมมปติฏฐาราม และอนุสรณ์สถานนายเคน ดาเหลาศิลปินแห่งชาติ
6. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ มีการรวมกลุ่มอาชีพในพื้นที่ตำบลหนองเต่า
7. แรงงาน ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ปลูกข้าว ไร่ยาสูบ ปลูกยางพาราและมันสำปะหลัง
โทรศัพท์ 045-252702